ส่วนที่ 3 ตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI) ของหน่วยงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

3.1 มีแผนงานบริหารคุณภาพงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ( มาตรฐานการปฏิบัติงาน PDCA 9 ขั้นตอนของมูลนิธิฯ ) ที่สอดคล้องกับนโยบายแผนยุทธศาสตร์ของมูลนิธิฯ แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียน และดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายคุณภาพตามแผนที่กำหนดไว้
  1. มีการวางแผนแต่งตั้งผู้รับผิดชอบทุกกิจกรรมและแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบทุกกิจกรรม
  2. มีการวางแผนการประชุมทุกครั้ง เพื่อศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการจัดทำและปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้ และมีการดำเนินการประชุมทุกครั้งตามแผนที่กำหนด
  3. มีการวางแผนการกำหนดเป้าหมายคุณภาพตามภาะงานที่รับผิดชอบของทุกกิจกรรมในแผนงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฝ่ายวิชาการ และมีการอ้างอิงเป้าหมายคุณภาพที่กำหนดไว้ ได้แก่ มาตรฐานการปฏิบัติงาน PDCA 9 ขั้นตอนของมูลนิธิฯ แผนยุทธศาสตร์ของมูลนิธิฯ แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียน มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ./โรงเรียน/มูลนิธิฯ) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) และหลักสูตรโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกประถม
  4. มีการวางแผนการกำหนดกิจกรรม เพื่อให้สอดคล้องและบรรลุเป้าหมายของแผนงานทุกกิจกรรม (จัดทำแผนงาน กำหนดการ ตารางเวลา แบบฟอร์มเอกสารจดหมาย คู่มือ ขั้นตอน ระเบียบการ ฯลฯ ที่สอดคล้องตามหน้าที่หลัก) และมีการดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผนงานทุกกิจกรรมตามที่กำหนดไว้
  5. มีการวางแผนการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อสื่อสารและมอบหมายงาน และมีการดำเนินการประชุมคณะกรรมการทุกครั้งที่กำหนด
  6. มีการวางแผนติดตามการดำเนินงาน และมีการติดตามกิจกรรมการดำเนินงานตามแผนงานที่กำหนดไว้
  7. มีการวางแผนรับการกำกับติดตามการดำเนินงาน และดำเนินงานกำกับติดตามให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนงาน
  8. มีการวางแผนประเมินผลการดำเนินงาน และดำเนินการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงาน
  9. มีการวางแผนสรุปรายงานผล และมีการดำเนินการสรุปรายงานผลเพื่อเสนอแนะแนวทางปรับปรุงพัฒนาการเขียนแผนงาน และปรับปรุงกิจกรรมในแผนงาน

3.2 มีการดำเนินงานตามแผนพัฒนางานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามแผนยุทธศาสตร์ของมูลนิธิฯ แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียน มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ./โรงเรียน/มูลนิธิฯ) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) และหลักสูตรโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกประถม
  1. มีการวางแผนบริหารด้วยขั้นตอน PDCA 9 ขั้นตอนของมูลนิธิฯ และดำเนินการพัฒนางานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้สอดคล้องตามนโยบาย แผนยุทธศาสตร์ของมูลนิธิฯ แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียน และบรรลุเป้าหมายคุณภาพตามแผนที่วางไว้
  2. มีแผนพัฒนางานการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามแผนยุทธศาสตร์ของมูลนิธิฯ แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียน มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ./โรงเรียน/มูลนิธิฯ) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) และหลักสูตรโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกประถม
  3. ร้อยละ 87 มีการออกแบบและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสติปัญญารายปี รายหน่วย รายคาบ
  4. ร้อยละ 80 มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน กลุ่มสาระฯ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นรูปแบบ ACP Step
  5. ร้อยละ 87 มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมผนวกกับการนำบริบทและภูมิปัญญาของท้องถิ่นและบริบทของท้องถิ่นที่เป็นปัจจุบันบูรณาการในการจัดการเรียนรู้
  6. ร้อยละ 90 มีการศึกษา วิจัย พัฒนาการจัดการเรียนรู้ นำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพตามระบบการนิเทศ
  7. ร้อยละ 93 มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนทางวิทยาศาสตร์ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิด อย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา(สพฐ. 1.1(2)) (DP-ACP6.1.5)
  8. ร้อยละ 94 ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม เพื่อนำเสนอผลงาน มีทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลรู้ ทันฉลาดเลือกสามารถประยุกต์ใช้สื่อสารรวมทั้งเทคโนโลยีและเครือข่ายทางสังคม (สพฐ. 1.1(3))(DP-ACP6.1.6) (สพฐ. 1.1(4))(DP-ACP6.1.7) (ACP 3.4) (FSG.2.3)(SP-FSG. 2.3.2) (DP-ACP2.3.2)
  9. ร้อยละ 82 ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ผู้เรียนในระดับชั้น ป.1 – 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตั้งแต่ 3.00 ขึ้นไป (สพฐ. 1.1(5))(DP-ACP6.1.8)
  10. ร้อยละ 98 ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามสถานศึกษากำหนด และตระหนัก รู้คุณค่า ร่วมอนุรักษ์พัฒนาสิ่งแวดล้อมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม(สพฐ.1.2(1)) (DP-ACP6.1.12) (ACP 2.1,2.4) (FSG. 1.3)
  11. 3.2.11 ร้อยละ 91 ส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่รู้ แสวงหาความเชื่อ ค่านิยม วิถีชีวิต และมีวิจารณญาณในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมอย่างฉันท์มิตร สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน(FSG. 2.1-2.2)
  12. ร้อยละ 92 ส่งเสริมให้ผู้เรียนกำหนดเป้าหมาย คาดการณ์ ตัดสินใจแก้ปัญหา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อการเรียนรู้ระหว่างกันโดยมีเหตุผลประกอบ มีความคิดริเริ่ม และสร้างสรรค์ผลงานด้วยความภาคภูมิใจ สามารถเชื่อมประสานการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นและ/หรือหน่วยงานต่าง ๆ จนบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์(ACP 3.3,4.3,4.4,6.3) (FSG. 2.5)
  13. ร้อยละ 93 ครูผู้สอนจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง พร้อมทั้งให้คำแนะนำ ปรึกษา แก้ไขปัญหาด้วยความเสมอภาค เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ (สพฐ. 3.1) (DP-ACP 6.2.1) (FSG. 3.2)
  14. ร้อยละ 93 ครูผู้สอนใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ (สพฐ.3.2)(DP-ACP6.2.2) (SP-FSG.5.1.2)
  15. ร้อยละ 93 ครูผู้สอนมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ตรวจสอบ วัดและประเมินผลผู้เรียนด้วยวิธีหลากหลายอย่างเป็นระบบ โดยการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล และใช้ข้อมูลในการวางแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อนำผลมาพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน(สพฐ. 3.3-3.4) (DP-ACP6.2.3, 6.2.5)
  16. ร้อยละ 93 ครูผู้สอนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้(สพฐ. 3.5) (DP-ACP6.2.6)
  17. จัดรูปแบบการเรียนรู้ที่ผสมผสานระหว่างการเรียน On – site และ Online (SP-FSG. 2.2.1) (DP-ACP 2.2.1)
  18. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการลดหรือการดูดซับซับก๊าซเรือนกระจก และกิจกรรมที่สร้างเสริมความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงาน พร้อมทั้งจัดทำสารสนเทศแสดงการลดหรือดูดซับก๊าซเรือนกระจกในโรงเรียน (SP-FSG. 1.4.1,1.4.4) (DP-ACP1.4.1,1.4.4)
  19. มีผลงาน สื่อ นวัตกรรมของผู้เรียนในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งเสริมให้เกิดทักษะสำคัญจำเป็นในโลกศตวรรษที่ 21(3Rs8Cs) ที่ผ่านการพิจารณาคุณภาพระดับดีมากขึ้นไปจนได้รับการเผยแพร่ผลงานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และได้รับรางวัลระดับมูลนิธิฯ ระดับเขต ระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับชาติ ระดับนานาชาติ(SP- FSG.2.3.1)(DP-ACP2.3.1)
  20. มีการใช้ตำรากลางภาษาอังกฤษ ข้อสอบวัดและประเมินผลนักเรียนที่ใช้ตำรากลางภาษาอังกฤษในรูปแบบ
  21. สื่อ Digital ร่วมกับสถาบันที่ได้มาตรฐานสากล(SP-FSG. 2.4.1) (DP-ACP2.4.1)
  22. ส่งเสริม สนับสนุนความร่วมมือในการพัฒนาการศึกษา และมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างโรงเรียนในเครือมูลนิธิ อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง(SP-FSG. 5.1.1-5.1.2)(DP-ACP5.1.1-5.1.2)

3.3 ร้อยละ 80 ของผู้รับบริการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (ครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน )มีความพึงพอใจต่อการบริหารคุณภาพการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี